ประวัติความเป็นมา

          สระ เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา เป็นที่ตั้งของวัดท่าฟ้าใต้ ซึ่งสร้างตามรูปแบบศิลปะไทลื้อที่มีความงดงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ที่ตั้งและอาณาเขต
     ตำบลสระ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

ตำบลสระ เป็นตำบลที่มีตำนานว่า เมื่อปี พ.ศ. 2343 (ประมาณ 70–80 ปีก่อน พ.ศ. 2427) คือ ประมาณ 135 ปีมาแล้ว (2552) มีเรื่องเล่าว่าเจ้าเมืองน่านและเจ้าเมืองพะเยา มีการติดต่อค้าขายกัน โดยใช้เส้นทางจากจังหวัดน่าน-บ้านสวด ถึงเชียงม่วนและต่อไปอำเภอดอกคำใต้ โดยเมื่อเดินทางสมัยนั้นในบริเวณเขตอำเภอเชียงม่วนจะต้องข้ามแม่น้ำยมและหยุดพักอีก 1 คืน และได้สำรวจพบว่าด้านตะวันตกของแม่น้ำยมสามารถสร้างที่พักอาศัยและเพาะปลูกได้จึงขออนุญาตจากเจ้าเมืองน่านมาตั้งบ้านสร้างเมือง เริ่มแรกมีประมาณกว่าสิบหลังคาเรือน

เดิมพื้นที่ตำบลสระ มีชื่อว่า “ตำบลเมืองสระ” เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบ้านม่วง (อำเภอปง) จังหวัดน่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 กระทรวงมหาดไทยได้ยุบรวมพื้นที่ตำบลเนื่องจากมีตำบลมากเกินไป โดยยุบรวมพื้นที่ตำบลเมืองสระเข้ากับตำบลเชียงม่วน และในอีก 7 ปีต่อมา ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองหมู่ที่ 5-7 ของตำบลเชียงม่วน ออกมาตั้งเป็นตำบลสระ อีกครั้ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน ปีเดียวกัน ตำบลสระมีฐานะเป็นตำบลสระ อำเภอปง จังหวัดน่าน

ในวันที่ 30 ธันวาคม 2495 ทางกระทรวงมหาดไทยได้มีเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย จังหวัดแพร่ โดยโอนพื้นที่อำเภอปง (ยกเว้นตำบลสะเอียบและตำบลสวด) จังหวัดน่าน มาขึ้นการปกครองกับจังหวัดเชียงราย ตำบลสระจึงย้ายการปกครองจากจังหวัดน่านเดิม มาขึ้นกับจังหวัดเชียงราย

ต่อมาทางราชการได้แยกพื้นที่ตำบลสระ และตำบลเชียงม่วน ออกจากการปกครองของอำเภอปง ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 รวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียงม่วน และยกฐานะเป็นอำเภอเชียงม่วนในปี พ.ศ. 2517 ตำบลสระจึงมีฐานะเป็นตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2520 ทางราชการได้แยกพื้นที่อำเภอพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ ออกจากการปกครองจังหวัดเชียงราย รวมตั้งขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา จึงมีฐานะเป็นตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา

“สระ” คือกิริยาที่มนุษย์ใช้คนข้าว ชุมชนในท้องถิ่นนิยมบริโภคข้าวเหนียวเมื่อข้าวสุกแล้วนำมาใส่ภาชนะที่เรียกว่ากั๊วะ แล้วคนเพื่อให้ข้าวเย็นลง มีเรื่องเล่าว่าเมื่อปู่ฟ้าโง้มหนึ้งข้าวแล้วปลดปง ลง ณ เมืองปง แล้วจึงนำข้าวมา สระ ลงบนภาชนะสำหรับคนข้าวของชนในท้องถิ่น ณ ตำบลบ้านสระ แล้วนำมา สวด คือกิริยาที่นำข้าวมาใส่กระติบจนเต็มแล้วเอามือปาดให้เสมอกัน ณ บ้านสวด เป็นต้น

การแบ่งเขตการปกครอง
     ตำบลสระแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 13 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านท่าฟ้าเหนือ (Ban Tha Fa Nuea) หมู่ 5 (เดิม) โอนมาจากตำบลเชียงม่วน
หมู่ 2 บ้านท่าฟ้าใต้ (Ban Tha Fa Tai) หมู่ 6 (เดิม) โอนมาจากตำบลเชียงม่วน
หมู่ 3 บ้านสระ (Ban Sa) หมู่ 7 (เดิม) โอนมาจากตำบลเชียงม่วน
หมู่ 4 บ้านสระใต้ (Ban Sa Tai)
หมู่ 5 บ้านทุ่งหนอง (Ban Thung Nong)
หมู่ 6 บ้านท่าฟ้าหล่าย** (Ban Tha Fa Lai)
หมู่ 7 บ้านฟ้าใหม่ (Ban Fa Mai)
หมู่ 8 บ้านราษฎร์พัฒนา (Ban Rat Phatthana)
หมู่ 9 บ้านนาบัว (Ban Na Bua)
หมู่ 10 บ้านเหล่าพัฒนา (Ban Lao Phatthana)
หมู่ 11 บ้านฟ้าสีทอง (Ban Fa Si Thong)
หมู่ 12 บ้านสระกลาง (Ban Sa Klang)
หมู่ 13 บ้านห้วยก้างปลา (Ban Huai Kang Pla)

**ในวันที่ 17 กันยายน 2558 ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหมู่ 6 บ้านหล่าย ตำบลสระ เป็น หมู่ 6 บ้านท่าฟ้าหล่าย

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่ตำบลสระ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลสระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลสระ ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516 และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสระในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539 จนถึงปัจจุบัน

แหล่งที่มาอ้างอิง : ตำบลสระ – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

ออกแบบโดย dsite.in.th